วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ
และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐาน
ร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม
มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง
และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ   
พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ    พระอัยการลักษณะทาส   พระอัยการลักษณะกู้หนี้
พ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง
 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ  ราชวงศ์อู่ทอง   ราชวงศ์สุพรรณภูมิ    ราชวงศ์สุโขทัย    ราชวงศ์ปราสาททอง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่า  2  ครั้ง   ครั้งแรกใน  พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเ้รศวร
มหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ.2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 สมเด็นพระเจ้าตากสิน
มหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่กวาดต้อนผู้คนจาก
กรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แ่ต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างยังมีคน
ที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง
จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า  "เมืองกรุงเก่า"
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียว
กับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครอง
ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมือง
ปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง
ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น
ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา  อ่างทอง  สระบุรี  ลพบุรี  พรหมบุรี  อินทร์บุรี และสิงห์บุรี
ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี  ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี
พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยา
มีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนา
เมืองอยุธยาในเวลาต่อมาจนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา
เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือน
ประเทศไทยและมอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะ
โบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ
จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถาน
เมืองอยุธยา
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310
เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณี
มากมายเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ทั่วทั้ง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมาย
กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์  มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักร
รวม 5 ราชวงศ์
1. ราชวงศ์อู่ทอง          4    พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ    13   พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย         7   พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง   4   พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง   6   พระองค์

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ
พระนาม
ปีที่ครองราชย์
พระราชวงศ์
1
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
1893 - 1912  (19 ปี)
อู่ทอง
2
สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1
1912 -1913 (1 ปี )
อู่ทอง
3
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
1913 - 1931  (18 ปี)
สุพรรณภูมิ
4
สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว)
1931 - 1931 (7 วัน)
สุพรรณภูมิ
5
พระราเมศวร
สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร)
1931 -1938 ( 7 ปี)
1938 -1952 (14 ปี )
อู่ทอง
6
สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว
1952 - 1967 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
7
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์
1967 - 1991 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
8
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา)
1991 - 2031 (40 ปี)
สุพรรณภูมิ
9
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2031 - 2034 (3 ปี)
สุพรรณถูมิ
10
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2034 - 2072 (38 ปี)
สุพรรณภูมิ
11
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2072 -2076 (4 ปี)
สุพรรณภูมิ
12
พระรัษฎาธิราช (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)
2076 -2077 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ
13
สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2077 - 2089 (12 ปี)
สุพรรณภูมิ
14
พระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (โอรสไชยราชาธิราช)
2089 - 2091 (2 ปี)
สุพรรณภูมิ
15
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา)
2091 - 2111 (20 ปี)
สุพรรณภูมิ
16
สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ)
2111 - 2112 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ
17
สมเด็จพระมหาธรรมราชา
2112 - 2133 (21 ปี)
สุโขทัย
18
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา)
2133 - 2148 (15 ปี)
สุโขทัย
19
สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา)
2148 -2153 (5 ปี)
สุโขทัย
20
พระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ)
2153 - 2153 (1 ปี)
สุโขทัย
21
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ)
2153 - 2171 (17 ปี)
สุโขทัย
22
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2172 - 2172 (8 เดือน)
สุโขทัย
23
พระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2172 - 2199 (28วัน)
สุโขทัย
24
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์)
2172 - 2199 (27 ปี)
ปราสาททอง
25
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2199 - 2199 (3 - 4 วัน)
ปราสาททอง
26
พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง)
2199 - 2199 (3 เดือน)
ปราสาททอง
27
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปรารสาททอง)
2199 - 2231 (32 ปี)
ปราสาททอง
28
สมเด็จพระเพทราชา
2231 - 2246 (15 ปี)
บ้านพลูหลวง
29
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
2246 - 2275 (6 ปี)
บ้านพลูหลวง
30
สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ)
2275 - 2301 (24 ปี)
บ้านพลูหลวง
31
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ)
2275 - 2301 (26 ปี)
บ้านพลูหลวง
32
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 - 2301 (2 เดือน)
บ้านพลูหลวง
33
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 - 2310 (9 ปี)
บ้านพลูหลวง
เครดิตเว็บ www.ayutthaya.go.

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ของฝากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา







สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก               

 อำเภอพระนครศรีอยุธยา

     เครื่องประดับมุก  เช่น โตก ตะลุ่ม ถาด ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ในเกาะเมือง
     โต๊ะหมู่บูชา ธรรมาสน์ เฟอร์นิเจอร์ลายไม้ เครื่องไม้แกะสลัก  ที่ตำบลท่าวาสุกรี ตำบลไผ่ลิง ตำบลบ้านใหม่ ตำบลประตูชัย ตำบลวัดตูม บริเวณเกาะเมือง
     ปลาตะเพียนสาน เครื่องแขวน  ที่บ้านหัวแหลม ตำบลท่าวาสุกรี, บ้านรัตนชัย ตำบลประตูชัย ในเกาะเมืองอยุธยา
     หัวโขน  มีแห่งเดียวที่บ้าน ม.ร.ว. จรูญสวัสดิ์  สุขสวัสดิ์ ๕/๑ ตำบลท่าวาสุกรี
     โรตีสายไหม มีแหล่งจำหน่ายที่บริเวณทางด้านหน้า และด้านข้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดอยุธยา ริมถนนอู่ทอง และตามร้านค้าทั่วๆ ไป
     ร้านสังคีตประดิษฐ์ ๙๗ หมู่ ๔ หมู่บ้านสหกรณ์ครู (หมู่บ้านวรเชษฐ์) ถ.อยุธยา–เสนา ต.บ้านป้อม
โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๔๖๓๑, ๐ ๓๕๒๔ ๕๗๒๙
     ตลาดกลางเพื่อเกษตรกร  ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเซีย ที่ตำบลหันตรา หลังจากเที่ยวชมในจังหวัดอยุธยาแล้วจะเดินทางกลับให้ขับรถ ข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรงไปทางฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงถนนสายเอเซีย เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ไปไม่ไกลนักจะมีทางให้เลี้ยวขวาเข้าไปจะเห็นตลาดกลางอยู่ทางซ้ายมือก็จะพบกับสถานที่จำหน่าย ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิดของจังหวัดเช่น มีดอรัญญิกแท้จากอำเภอนครหลวง พัดสานจากอำเภอบ้านแพรก ไม้แกะสลัก ของอำเภอพระนครศรีอยุธยา  เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากอำเภอบางปะอิน ปลาร้า ปลาแห้งและผลไม้กวนทุกชนิด ตลอดจนของขวัญ ของฝากหลากหลายจากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารซึ่งมีกุ้งและปลาสดๆ รสชาติอร่อยอยู่หลายร้าน
     บริเวณวิหารวัดพระมงคลบพิตรและบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหารมีร้านค้ามากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสาน เครื่องหวาย มีดอรัญญิก ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ
     ศูนย์การค้าอยุธยาพาร์ค ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู สัมผัสวิถีชีวิต การค้าขายและ บรรยากาศตลาดน้ำที่จำลองไว้ในร่ม หลากหลายด้วยร้านค้าชั้นนำ สินค้าต่างๆมากมาย  ศูนย์รวมอาหารอร่อยแม่ช้อยนางรำ และยังสามารถชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๒๒ ๙๒๓๔-๔๑ หรือ เว็บไซต์ www.ayutthayapark.com
      อำเภอเสนา
      เครื่องหวาย  ที่ตำบลบ้านโพธิ์หัวเวียง และบ้านกระทุ่ม
     เจียระไนพลอย ที่ตำบลเจ้าเจ็ด    
      อำเภอนครหลวง
     มีดอรัญญิก ผลิตภัณฑ์ลงหิน  ที่บ้านต้นโพธิ์ไผ่หนอง บ้านอรัญญิก ตำบลท่าช้าง
     หม้อดินที่อำเภอนครหลวง, บริเวณคลองสระบัว ในเกาะเมืองอยุธยา, อำเภอบางบาล และอำเภอบางปะหัน
     อำเภอบางปะหัน
     งอบใบลาน (โครงทำด้วยไม้ไผ่)  ที่อำเภอบางปะหัน
     งานจักสานจากไผ่ งานประดิษฐ์จากไม้ซาง  เช่น เรือนไทยจำลอง เรือนแพ ที่ตำบลตานิม
     กระด้ง  ตำบลบ้านม้า
     กระจาด ตำบลตานิ่ม
     ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา  ตำบลหันสัง
     ผลิตภัณฑ์เรซินและกรอบรูปไม้สัก  ตำบลบางเพลิง
     เครื่องดนตรีไทย  ตำบลทับน้ำ
     เครื่องสำอางค์สมุนไพร   ตำบลขวัญเมือง
     ผลิตภัณฑ์ธูปหอม  ตำบลเสาธง
     บ้านเรือนไทยย่อส่วนจากดิน   ตำบลทางกลาง
     แกะสลักโต๊ะหมู่บูชา  ตำบลพุทเลา
     ดอกไม้ประดิษฐ์  ตำบลขวัญเมือง
ร้านจำหน่ายสิ้นค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก      อำเภอพระนครศรีอยุธยา     ปลาตะเพียนสาน เครื่องแขวน     เกตุสุณี  รุ่งสาตรา  (หน้าตลาดหัวแหลม) ด. ๑๖/๓ ตำบลท่าวาสุกรี ถนนอู่ทอง โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๓๔๘๑, ๐ ๓๕๒๔ ๓๗๗๐
     วันทนี  มีพลกิจ  (หน้าโรงเรียนประตูชัย) ตำบลท่าวาสุกรี โทร. ๐ ๓๕๒๑ ๑๑๗๒, ๐ ๙๖๗๓ ๘๘๐๑ 
     อำเภอนครหลวง     มีดอรัญญิก ผลิตภัณฑ์ลงหิน     วินัย  รวยเจริญ  ๑๖๒/๓ หมู่ ๗ ตำบลท่าช้าง โทร. ๐ ๓๕๓๕ ๙๙๕๖, ๐ ๓๕๗๑ ๕๓๔๖
     อำเภอบางปะหัน     งอบใบลาน          ชิต  จันทร์งาม  หมู่ ๑ ตำบลบางเพลิง โทร. ๐ ๑๘๕๑ ๕๙๒๕
          ธาราวุฒิ  จุลวงศ์  หมู่ ๕ ตำบลนางร้า โทร. ๐ ๓๕๓๐ ๑๑๗๐
          ประทุม  รู้แผน  ๘๖ หมู่ ๖ ตำบลบางปะหัน โทร. ๐ ๓๕๓๘ ๑๕๐๗
          เกษียร  ผิวหอม  ๓๑ หมู่ ๑ ตำบลบางเดื่อ โทร. ๐ ๓๕๗๑ ๐๑๗๕
     กระด้ง           พะยอม  แสงบุศย์  หมู่ ๔ ตำบลบ้านม้า โทร. ๐ ๓๕๗๑ ๐๓๗๙
     กระจาด
          ถนอมศรี  คุ้มจั่น หมู่ ๒ ตำบลตานิ่ม โทร. ๐ ๓๕๗๑ ๐๑๖๓
     ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา
          สุนีย์  ทรูศิลป์  ๖๔ หมู่ ๔ ตำบลหันสัง โทร. ๐ ๙๘๒๒ ๙๘๑๗
     ผลิตภัณฑ์เรซินและกรอบรูปไม้สัก
          นเรศ  สุวรรณ์วงศ์  ๖๗ หมู่ ๑ ตำบลบางเพลิง โทร. ๐ ๖๖๐๓ ๔๗๐๙
     เครื่องดนตรีไทย
          เป้า  ทับสาคร  ๒/๑ หมู่ ๓ ตำบลทับน้ำ โทร. ๐ ๑๘๓๖ ๗๔๗๔
     เครื่องสำอางค์สมุนไพร
          สดใส  สนธีระ  ๔๔/๘๘ หมู่ ๕ ตำบลขวัญเมือง โทร. ๐ ๓๕๓๐ ๑๔๘๘
     ผลิตภัณฑ์ธูปหอม
          ศศิภา  สุขสมาน  ๒๐ หมู่ ๑ ตำบลเสาธง โทร. ๐ ๓๕๓๘ ๑๕๐๗
     บ้านเรือนไทยย่อส่วนจากดิน           รำพึง  ศิลาสะอาด  ๖ หมู่ ๑ ตำบลทางกลาง โทร. ๐ ๓๕๒๕ ๕๑๙๓
     แกะสลักโต๊ะหมู่บูชา
          อำนวย  น้อยโสภณ  หมู่ ๔ ตำบลพุทเลา โทร. ๐ ๓๕๗๑ ๓๔๒๗
     ดอกไม้ประดิษฐ์           นฤมล  กันตามระ  ๕๖ หมู่ ๒ ตำบลขวัญเมือง โทร. ๐ ๓๕๓๘ ๑๐๒๙



สินค้าโอทอปจังหวัดอยุธยา



        รหัสสินค้า  011  ราคา 50  บาท



                 รหัสสินค้า  012  ราคา 49  บาท




                 รหัสสินค้า 013  ราคา  69  บาท



      รหัสสินค้า  014   ราคา  199  บาท



            รหัสสินค้า  015  ราคา  229  บาท



                    รหัสสินค้า 016  ราคา  250  บาท




                      รหัสสินค้า  017  ราคา   300  บาท



        รหัสสินค้า  018  ราคา  450  บาท



                รหัสสินค้า   019   ราคา  280 บาท



          รหัสสินค้า  020   ราคา  350  บาท

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สินค้าโอทอปจังหวัดอยุธยา

      
                                   รหัส  001  ราคา  30  บาท

 
                                                              รหัส  002  ราคา  250  บาท

 
                                                  รหัส  003  ราคา  50  บาท


                          รหัส  004  ราคา  6,500  บาท

                   รหัส  004 ราคา  300  บาท


                       รหัส  005  ราคา  350  บาท

                       รหัส  006  ราคา  250  บาท


                             รหัส  007  ราคา  145  บาท


                         รหัส  008  ราคา  70  บาท


                      รหัส  009 ราคา  300  บาท 





                                   รหัส  010 ราคา  120  บาท 

วิธีการสั่งซื้อ

                       1.  โทรสั่งซื้อสินค้า  ที่ฝ่ายขายของบริษัทฯ (โทร. 035- 252523)


2. วิธีการชำระค่าสินค้า 


วิธีการชำระค่าสินค้า  มี 2 วิธีด้วยกัน
1.  สั่งซื้อสินค้าโดยตัดยอดเงินค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตของผู้สั่งซื้อ
2.  โอนเงินค่าสินค้ามายังธนาคารที่ทางบริษัทฯ มีติดต่อไว้  พร้อมทั้งแฟ๊กซ์สลิปการโอนเงินมายังบริษัทฯที่แฟ็กซ์  (035) 251512  หลังจากบริษัทฯได้รับแฟ็กซ์หลักฐานการโอนเงินค่าสินค้าแล้ว  ทางบริษัทฯ  จะทำการจัดส่งสินค้าไปตามที่อยู่ที่ผู้สั่งซื้อระบุไว้  ภายใน 3 วันทำการ
ธนาคารและเลขที่บัญชีที่โอน  คือ
     2.1  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  สาขาโรจนะ
           ชื่อบัญชี:  บริษัท คิงส์ไอเดีย (ประเทศไทย) จำกัด
           เลขที่บัญชี:  170-3-067189
           ประเภทบัญชี:  กระแสรายวัน
     2.2  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  สาขาเจ้าพรหม
           ชื่อบัญชี:  บริษัท คิงส์ไอเดีย (ประเทศไทย) จำกัด
           เลขที่บัญชี:  027-1-179596
           ประเภทบัญชี:  กระแสรายวัน


ขอขอบคุณที่ใช้บริการค่ะ